สิ้นฝันเมื่อวันวาน: นักศึกษากับสงครามปฏิวัติไทย
ผู้เขียน: ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อดีตนักโทษคดี 6 ตุลา, อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนังสือเล่มนี้รวมบทความที่เผยประสบการณ์ของอาจารย์สุรชาติ เชื่อมโยงบทวิเคราะห์ของอาจารย์ว่าด้วยบริบทของสังคมไทยและภูมิภาคในเหตุการณ์ 6 ตุลา
เนื้อหาภายในหนังสือ
- สงครามและการปฏิวัติในเดือนตุลา
- รัฐและสงครามปฏิวัติไทย
- สงครามระหว่างพรรคพี่น้อง
- ปฐมฤกษ์แห่งสงคราม!
- สงครามต้านปฏิวัติของรัฐไทย
- สงครามของจักรวรรดินิยม
- ความผันแปรของสงคราม
- วอชิงตันถอน ไซง่อนแตก กรุงเทพกลัว!
- ไทยต้องไม่เป็นเวียดนาม
- สงครามไทย-พรรคจีน
- การเมืองนำการทหาร
- สิ้นสงคราม สิ้นอุดมการณ์?
- การเมืองนำการทหาร ประชาธิปไตยนำเผด็จการ
- สงครามจบ ประวัติศาสตร์จบ
ชีวิตของความเป็นคนในยุคแห่งเดือนตุลานั้นผูกพันอยู่กับอุดมการณ์ชุดใหญ่ที่สุดคือ การปฏิวัติ การจบลงของสงครามปฏิวัติในชนบทไทยที่มีอาการ “ป่าแตก” และตามมาด้วย “เสียงปืนดับ” เป็นจุดจบของสงครามเย็นในไทย จึงเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ในยุคสมัยหนึ่งและคนรุ่นหนึ่ง
— สุรชาติ บำรุงสุข