Welcoming The Rainbow (ยินดีที่มีรุ้ง)

Front Cover of Thai Edition Welcoming The Rainbow
ปกหน้าของหนังสือยินดีที่มีรุ้งฉบับภาษาไทย

‘Welcoming the Rainbow’ is the LGBTQIA+ advocacy project of Sam Yan Press inherited from Rainbodhi‘s project which was organised by Bhante Akāliko Bhikkhu, an Australian Theravada monk, intended to create a safe place and raise LGBTQIA+ awareness in the Australian Buddhist community through publishing handbooks.

As for Sam Yan Press’ Welcoming the Rainbow, Bhante Akāliko has kindly granted our rights to translate and publish the book in Thai version. This is to succeed in our common vision and goal to make the Buddhist community more inclusive and no more discrimination. The Thai Buddhist community may still ignore to make the LGBTQIA+ community safe and included. Therefore, Sam Yan Press has ambitiously supported the welcoming to understand and realise the safe place for all LGBTQIA+ Buddhist communities.


โครงการยินดีที่มีรุ้ง เป็นโครงการสนับสนุนการสร้างความเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศของสำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่านที่สืบเนื่องมาจากโครงการ Welcoming the Rainbow ของมูลนิธิเรนโพธิ (Rainbodhi) ของพระอกาลิโกภิกขุ พระสงฆ์สายเถรวาทชาวออสเตรเลีย ผู้ที่ตั้งใจจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศให้กับชาวพุทธในออสเตรเลียผ่านหนังสือคู่มือในชื่อเดียวกัน

โดยสำหรับโครงการยินดีที่มีรุ้งนี้ สำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่านได้ขอรับลิขสิทธิ์หนังสือ Welcoming the Rainbow มาแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “ยินดีที่มีรุ้ง: คู่มือโอบรับความหลากหลายทางเพศสำหรับชาวพุทธ” เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในการสร้างสังคมพุทธที่เท่าเทียมและปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เนื่องด้วยสังคมพุทธไทยยังละเลยและไม่มีความเข้าใจที่โอบรับความหลากหลายทางเพศมากพอให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย สำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่านจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดประตูแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศให้เกิดขึ้นในสังคมพุทธไทย

Read the book online here!
ดูหนังสือฉบับเต็มออนไลน์ได้ที่นี่!

Download a digital copy version of the book here!
ดาวน์โหลดหนังสือฉบับดิจิทัลไว้อ่านได้ที่นี่!

Full Interviews (บทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม)


Panel Talks (กิจกรรมเสวนา)

กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “ความหลากหลายทางเพศกับพุทธศาสนา : การยอมรับและตัวตนของคนเพศหลากหลายในสังคมพุทธไทย

กิจกรรมเสวนาจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่าน ZOOM

วิทยากร

  • คุณภูวิศ พิศวง (ต้น)
    ผู้แปลหนังสือ “ยินดีที่มีรุ้ง”
  • คุณศศวรรณ จิรายุส (แอน)
    หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพฯ)
  • พระวุทธ สุเมโธ
    นิสิตปริญญาเอกด้านสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
  • คุณสิรภพ อัตโตหิ (แรปเตอร์)
    นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ และนักเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ »
สามารถดูตัวอย่างของกิจกรรมได้ที่นี่ »

กิจกรรมเสวนาพูดคุยกับพระอาจารย์อกาลิโก (Akaliko Bhikkhu) พระสงค์ชาวออสเตรเลียและนักเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมทางเพศในพุทธศาสนา

กิจกรรมเสวนาจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:00 – 14:00 น. ณ ตึกกิจกรรมนิสิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระอาจารย์อกาลิโกจากมูลนิธิเรนโพธิ (Rainbodhi) พร้อมด้วยผู้แทนประจำประเทศไทย มาเยือนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง โดยมีสำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่าน และกลุ่ม Interfaith Chula ร่วมจัดขึ้น

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ »
สามารถดูคลิปถ่ายทอดสดกิจกรรมย้อนหลังได้ที่นี่ »
สามารถดูภาพบรรยากาศของกิจกรรมได้ที่นี่ »

กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “พระพุทธเจ้าไม่ได้พูด พระสูตรไม่ได้บันทึก: ปัญหาการตีความพระไตรปิฎกในสังคมปิตาธิปไตย”

กิจกรรมเสวนาจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 16:30 – 18:00 น. ณ ตึกกิจกรรมนิสิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิทยากร

  • พระชาย วรธัมโม
    พระนักเขียน ทำงานเคลื่อนไหวเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ
  • คุณภูริทัต หงษ์วิวัฒน์ (ภู)
    นิสิตปริญญาโท สาขาบาลี-สันสกฤต และพุทธศาสน์ศึกษา
  • คุณสิรภพ อัตโตหิ (แร็ปเตอร์)
    นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ และนักเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ »
สามารถดูคลิปถ่ายทอดสดกิจกรรมย้อนหลังได้ที่นี่ »
สามารถดูตัวอย่างของกิจกรรมได้ที่นี่ »

กิจกรรมสนทนาวงคุยในหัวข้อ “ความเท่าเทียมทางเพศในศาสนาและสังคมพุทธ”

กิจกรรมเสวนาจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16:30 – 18:00 น. ณ ห้องประชุมวิชิตชัย อมรกุล ตึกกิจกรรมนิสิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิจกรรมตั้งใจให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแชร์ความคิดเห็นและประสบการณ์ของทุกคนอย่างเป็นกันเอง โดยเชิญชวนนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมวงสนทนาในหัวข้อ “ความเท่าเทียมทางเพศในศาสนาและสังคมพุทธ” ร่วมแชร์ประสบการณ์ ตลอดจนปัญหา และหาความเท่าเทียมในการใช้ชีวิตในศาสนาพุทธไปด้วยกัน

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ »

คณะทำงานเตรียมพร้อมและจัดส่งหนังสือให้กับวัด ห้องสมุด และองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศ

คณะทำงานโครงการยินดีที่มีรุ้งเตรียมพร้อมแล้ว และได้จัดส่งหนังสือ “ยินดีที่มีรุ้ง” ให้กับวัดและสำนักสงฆ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนในท้องที่ และส่งให้กับห้องสมุดและองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศแล้วเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา เพื่อให้หนังสือได้เผยแพร่ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านความเท่าเทียมทางเพศกับสาธารณชนและสานต่อสังคมไทยที่มีความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นต่อไป

สามารถดูเอกสารประกอบการจัดส่ง (Leaflet) ได้ที่นี่ »


Other Associated Events (กิจกรรมอื่นๆ ที่เข้าร่วม)

Joining in ‘Rainbodhi Goes to Thailand’ Event

โครงการยินดีที่มีรุ้ง ร่วมพูดคุยกับพระอกาลิโก ภิกขุ ในรายการของ Rainbodhi ในตอน ‘Rainbodhi Goes to Thailand’ และแลกเปลี่ยนพูดคุยบริบทและประสบการณ์ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในไทย และเปรียบเทียบวัฒนธรรมและบริบทระหว่างไทยและต่างประเทศ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566

ดูรายการเต็มบน YouTube ได้ที่นี่

Featuring in the Student Government of Chulalongkorn University’s Event

Interfaith Chula ในโครงการยินดีที่มีรุ้ง ซี่งริเริ่มโดยสำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่าน ได้มาร่วมรณรงค์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศในศาสนาพุทธ พร้อมกับแจกหนังสือ “ยินดีที่มีรุ้ง: คู่มือโอบรับความหลากหลายทางเพศ” ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม “Smiley Period: (Take) Hormones 101” ขององค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ณ Plearn Space อาคารเปรมบุรฉัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Read More (อ่านเพิ่มเติม)


Project Team (คณะผู้จัดทำ)

กฤตภาส เชษฐเจริญรัตน์ (กาเร็ต) – ผู้อำนวยการโครงการ
นิสิตภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นนายกสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมตั้งคำถามกับสังคมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมมีความเป็นธรรมมากกับทุกคนมากยิ่งขึ้น เชื่อว่านิสิตทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์มันได้

ญาณิศา สุนันท์ชัยการ (มีน) – ผู้ประสานงาน และผู้จัดการโครงการ
บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจประเด็นด้านความเท่าเทียมทางเพศ ความหลากหลายทางเพศ และสตรีนิยม

ธนภรณ์ ภังคสังข์ (ฟิฟธ์) – ผู้สร้างสรรค์เนื้อหาและการรณรงค์
นิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคนไม่อยู่เฉย ชอบดูหนัง สนใจวรรณกรรม ประวัติศาสตร์นอกกระแสหลัก และเพศสภาพศึกษา (Gender Studies) ปัจจุบันกำลังก่อร่างสร้างพื้นที่ทางความคิดด้านพุทธศาสนาให้กับตัวเองและตั้งใจ (อย่างยิ่ง) ที่จะไม่หยุดตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นสังคมไทย เพราะเชื่อว่าทุกคำถามคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

ภูวิศ พิศวง (ต้น) – ผู้แปล
บัณฑิตสาขาวิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจประเด็นด้านปรัชญา ศาสนา สังคม และการเมือง

ธวัสภ์ศิยา คำราชา (ปาล์มมี่) – บรรณาธิการแปล
นิสิตภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่นชอบการอ่านและการเขียน สนใจวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ การเมืองและสังคม มุ่งมั่นที่จะนำเสนอแนวคิดและจินตนาการผ่านงานเขียนที่กระตุ้นให้เกิดการคิดและสะท้อนสังคม

ซอแก้ว ลิมปิชาติ (ซอ) – ออกแบบงานด้านศิลปกรรม
บัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่นชอบการวาดรูปสีน้ำ กราฟิกดีไซน์ และการปั้นโมเดล

สุพศิน วาระเพียง (บุญ) – ผู้ประสานงาน
นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดูแลกลุ่มอินเตอร์เฟธ จุฬาฯ (Interfaith Chula) และปัจจุบันเป็นประธานอำนวยการ คณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จิรปรียา แซ่บู่ (หมิว) – ผู้ประสานงาน และผู้ช่วยผู้อำนวยการ
นิสิตภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดูแลสมัชชาสิงห์ดำ และเคยทำงานเป็นบรรณาธิการอำนวยการอยู่ที่สำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่าน

ปุญญพร ประเสริฐอัครกุล (ปุญ) – ผู้จัดการส่วนเนื้อหาและจัดส่ง
นิสิตภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันทำงานอยู่ในสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณภัทรา จิรโชติกำจร (แปม) – ผู้จัดการส่วนเนื้อหาและจัดส่ง-และดูแลกิจกรรมเพิ่มเติม
นิสิตภาคภาษาและวัฒนธรรม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจการทำข่าว ประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ ปัญหาสังคมในปัจจุบัน การชมงานศิลปะ และดนตรี

ธนวันต์ เหลาพวง (ต้า) – ผู้ช่วยฝ่ายเนื้อหาและจัดส่ง
นิสิตภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในสมัชชาเพื่อสิทธิมนุษยชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย